messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว play_arrow กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

องค์การบริหารส่วนตำบล
หนองบัว
อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย
verified_user สถานที่สำคัญ
แหล่งโบราณคดีบ้านบึงเหนือ

แหล่งโบราณคดีบ้านบึงเหนือ
ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ซึ่งค้นพบในที่ดินของนายเฉลียว แท่นแก้ว ราษฎรหมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว ลักษณะที่ตั้งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 56 เมตร และอยู่ห่างจากแม่น้ำยมมาทางทิศตะวันออกราว 12 กิโลเมตร มีพื้นที่ติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านหนองบัว ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านบึงใต้ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองมาบกด ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บึงลับแล หลักฐานทางโบราณคดี จากที่สำนักงานโบราณคดีฯ ได้สำรวจในพื้นที่ของนายเฉลียว แท่นแก้ว เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 ได้พบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ เช่น กระดูกท่อนขาด้านบน กระดูกซี่โครง กระดูกฟันกรามส่วนล่าง และโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ เครื่องปั้นดินเผาประเภทชาม หม้อดินเผาและหอยเบี้ย โดยกำหนดอายุประมาณ 2,000 – 2,500 ปี มาแล้ว นอกจากนี้ ยังพบชิ้นส่วนเครื่องถ้วยชามสังคโลกเคลือบสีเขียว ผลิตจากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย- ป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย กำหนดอายุประมาณ 600 – 700 ปี มาแล้ว ชุมชนโบราณบริเวณบ้านบึงเหนือ จึงเป็นแหล่งอาศัยของคนก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำยมทางทิศตะวันออก และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยสุโขทัย นอกจากนี้ยังพบแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ที่พบในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอายุราวเดียวกัน ดังนี้ แหล่งโบราณคดีบริเวณเขาเขน-เขากา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแหล่งโบราณคดีบ้านบึงเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร พบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น ลูกปัดแก้ว ขวานหินขัด ลูกปัดหินคาร์เนเลี่ยนและอะเกต เป็นต้น และมีกำหนดอายุในระยะเวลาใกล้เคียงกัน แหล่งโบราณคดีบริเวณวัดชมชื่น อยู่ในอาณาเขตเมืองเชลียง อยู่ห่างจากแหล่งโบราณคดีบ้านบึงเหนือมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 20 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เมื่อปี 2536-2537 ได้มีการขุดค้นทางโบราณคดี บริเวณวัดชมชื่น ผลการขุดค้นพบว่า มีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 9 นอกจากนี้ยังพบหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ฝังไว้ในหลุมจำนวน 15 โครง พร้อมลูกปัดแก้วและแท่งดินเผา กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-12 ในระดับชั้นด้านบนพบโบราณสถานก่อด้วยอิฐสมัยทวารวดี กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-16 และในชั้นดินด้านบนพบหลักฐานสมัยลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 และเข้าสู่สมัยสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
ภาพแผนที่อบต.หนองบัว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองบัว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองบัว
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัว เดิมสังกัดกรมอนามัย เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยใช้อาคารเอนกประสงค์ของสถานีอนามัยตำบลหนองบัวต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ย้ายมาใช้สถานที่อาคารเอนกประสงค์ของ โรงเรียนบ้านหนองบัวในขณะนั้นมีจำนวนเด็ก 20 คน ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 กรมอนามัย ได้ถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้แก่กรมพัฒนาชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวยังดำเนินกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กก่อนวัยเรียนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 36 คน จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2542 กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสุโขทัย ได้สนับสนุนงบประมาณฝึกอบรมอาชีพ ด้านการก่อสร้าง ให้กับประชาชน หมู่ที่ 8 และผู้เข้ารวมฝึกอบรมได้ฝึกทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณโรงเรียนบ้านหนองบัว แต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยเท่าที่ควร คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนา เด็กเล็กฯได้ขอใช้อาคารดังกล่าวเพื่อใช้เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากอาคารดังกล่าวยังขาดประตูหน้าต่าง ตลอดจนทั้งยังไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าในตัวอาคาร คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ และคณะครูโรงเรียนบ้านหนองบัวได้จัดงานบอลเพื่อหารายได้มาใชในการปรับปรุงอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2546 กรมพัฒนาชุมชนได้ถ่ายโอนภารกิจศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว พร้อมกับถ่ายโอนบุคลากร ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 2 คน มีเด็กจำนวน 45 คน ปี พ.ศ. 2548 อบต. หนองบัวได้จัดสรรงบประมาณในการซ่อมแซมอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นระเบียบเรีบยร้อยยิ่งขึ้น และในปีเดียวกันนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ได้จัดทำโครงการขอใช้ที่ดินของนิคมสหกรณ์หนองบัวจำนวน 15 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ดำการก่อสร้างอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการประชาชน และสวนสุขภาพประจำตำบลหนองบัว ทั้งนี้ได้รับความรวมมือจากนิคมสหกรณ์หนองบัวเป็นอย่างดีจนได้รับการอนุญาตจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใช้ที่ดินแปลงบริเวณหน้าที่ทำการ อบต. ติดกับทางหลวงแผ่นดินสาย 1318 จำนวน 15 ไร่ โดยอนุญาตให้ใช้ได้ชั่งคราวละ 5 ปี ปี พ.ศ. 2549 องค์การบริการส่วนตำบลหนองบัว ได้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างศูนย์พัฒนาด็กเล็กตำบลหนองบัว เป็นเงิน 2,135,037.53 บาท โดยนำตัวชี้วัดมาตรฐานด้านสถานที่ในการบริหารจัดการของศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ มาเป็นแนวทางในการจัดทำแบบแปลนก่อสร้างอาคาร ปี พ.ศ. 2550 องค์การบริหารตำบลหนองบัว ได้ตั้งงบประมาณเพื่อต่อเติม อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองบัว เป็นเงิน 597,000 บาท ปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองบัว มีครูผู้ดูแลจำนวน 4 คน และมีเด็กจำนวน 45 คน มีอาคารลักษณะเป็นอาคารประกอบ 2 หลังประกอบด้วยห้องต่างๆ ดังนี้ - ห้องเรียน 2 ห้อง - ห้องกิจกรรม - ห้องนอน - ห้องพักครู - ห้องเก็บพัสดุ - ห้องพยาบาล - ห้องรับประทานอาหาร - ห้องครัว - ห้องสุขา - ลานกิจกรรมบ่อน้ำ - บ่อทราย - ลานเด็กเล่น เป้าหมายในอนาคต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวมีโครงการที่จะรับเด็กในพื้นที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15 คนรวมยอดทั้งหมด 60 คน และมุ่งที่จะขยายผลการให้บริการทางการศึกษาระดับประถมวัย โดยการศึกษาระดับอนุบาล โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่น เพื่อพัฒนาการศึกษาระดับประถมวัยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุดต่อไป
ศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว

ศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว
ประวัติความเป็นมา ของโครงการศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว (บึงลับแล)บริเวณบึงลับแลเดิมมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแอ่งกระทะ สภาพตัวบึงมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะขนาดใหญ่แต่ตื้นเขิน ช่วงฤดูฝนจะมีน้ำท่วมมาก ฤดูแล้งน้ำจะแห้ง ราษฎรรอบๆบริเวณบึงได้ใช้ประโยชน์น้ำจาก บึงทำการเกษตรและการประมง ซึ่งเป็นแหล่งประมงที่สามารถเลี้ยงคนในพื้นที่ตำบลหนองบัว และตำบลข้างเคียง บริเวณกลางบึงมีหลายหน่วยงานเข้า ไปขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่เพื่อกักเก็บน้ำให้ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ ปี พ.ศ. 2483 กรมพัฒนาที่ดิน (ส่วนกลาง) ได้ประสานกับองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองบัว ดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่บึงลับแล หมู่ที่ 7 ต.หนองบัว อ.ศรีนคร จ.สุโขทัย เริ่มดำเนินการเดือน มกราคม 2545 แล้วเสร็จ เดือน กรกฏาคม 2545 งบประมาณ 14,339,000 บาท โดยมีลักษณะการก่อสร้าง ดังนี้ 1.) ขุดเป็นสระน้ำขนาดใหญ่บริเวณกลางบึงลับแล 2 สระ ความลึก 5 เมตรรวมเนื้อ ที่กักเก็บน้ำ 45 ไร่ 2.) ดินที่ได้จากการขุดสระนำมาถม และปรับเกลี่ยเป็นพื้นที่ ดังนี้ - พื้นที่ลานเอนกประสงค์ติดขอบสระทางด้านทิศตะวันออก ขนานไปกับความ ยาวของสระน้ำรวม พื้นที่ 32 ไร่ - พื้นที่เกษตรกรรมตัดขอบสระด้านทิศตะวันตก ขนานไปกับความยาวของสระ น้ำ เพื่อจัดรูปแบบเป็นแปลงสาธิตการปลูก พืชผักปลอดสารผิด รวมพื้นที่ 50 ไร่ ขุดเสร็จแล้วมีการปรับปรุงก้นบ่อโดยการใส่ปุ๋ยหมัก จำนวน 100 ตัน อัตรา 2 ตัน / ไร่ โดยจัดทำเป็นแปลงย่อยขนาด 1 ไร่ / ครัวเรือน บริเวณแปลงมีปั๊มน้ำ จำนวน 5 ตัว หัวจ่ายจำนวน 25 จุด - พื้นที่ถนนบริเวณรอบขอบสระแปลงเกษตรลานเอนกประสงค์และถนนเข้าบึง รวมพื้นที่ประมาณ 23 ไร่ - รวมพื้นที่โครงการ 150 ไร่ หลังจากการดำเนินการก่อสร้างกรมพัฒนาที่ดินได้ส่งมอบให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว พัฒนาอาชีพในพื้นที่ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ภายหลังได้รับมอบพื้นที่จากกรมการพัฒนาที่ดิน ได้จัดทำโครงการส่งเสริม ศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว (บึงลับแล) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อจัดทำเป็นแปลงสาธิตการปลูกพืชผักปลอดสารผิดโดยคัดเลือกเกษตรกรที่มีฐานะยากจนใน พื้นที่ตำบลเป็นผู้ดำเนินการและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 2. เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชิงอนุรักษ์ในอนาคต 3. เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไข้ปัญหาความยากจนไร้ที่ทำกิน 4. เพื่อเป็นแหล่งผลิตอาหารของชุมชนตำบลหนองบัว วิธีการดำเนินงานในปี 2546 มีการคัดเลือกเกษตรเพื่อเข้าดำเนินการในพื้นที่ โดยการคัดเลือกเกษตรกรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลหนองบัวเท่านั้น โดยคัดเลือกตามลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1. เป็นครัวเรือนที่ไม่มีที่ดินทำกิน และมีฐานะยากจน ลำดับที่ 2. เป็นครัวเรือนที่มีดินทำกินเล็กน้อยเพียงพอกับการครองชีพและมีที่ดินทำกิน ไม่เกิน 5 ไร่ /ครัวเรือน ลำดับที่ 3. เป็นเกษตรทั่วไปที่มีความพร้อมและความสมัครใจ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว (บึงลับแล) ในรุ่นแลกจำนวน 51 คนแต่ไม่ได้เข้าดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรเพราะไม่มีความพร้อมในการบริหารจัดการ แต่ได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมของสมาชิกผู้สมัครอยู่เสมอ ในปี พ.ศ.2547-2548 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งฟาร์ม โดยมอบหมายให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลหนองบัว เข้าดำเนินการโดยคัดเลือกเกษตรจากสมาชิกศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว เข้าดำเนินการกิจกรรมทำการเกษตรในพื้นที่ศูนย์ฯ ปลายปี พ.ศ.2549 ได้ประชุมสมาชิกกลุ่มเดิมเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความพร้อมและยังสนใจสมัครใจเข้าร่วมโครงการโดยมีผู้สนใจที่จะเข้าร่วม โครงการ จำนวน 26 คน เพื่อเข้าทำกิจกรรมเกษตรในปีพ.ศ.2550 ปี พ.ศ. 2550 กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่โครงการศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว(บึงลับแล) มีดังนี้ 1. โครงการแปลงสาธิตการปลูกและขยายพันธุ์พืชทดแทนพลังงาน (สบู่ดำ) เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนปี พ.ศ.2550 (เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริ) จำนวน 6 ไร่ 2. โครงการส่งเสริมศูนย์ผลิตอาหารชุมชนตำบลหนองบัว (บึงลับแล) กิจกรรมการทำนาข้าว เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ปี พ.ศ. 2550 จำนวน 44 ไร่ ดำเนินการไปแล้วหนึ่งรอบการผลิต 3. โครงการข้าวปลอดสารพิษ ของกรมพัฒนาที่ดินจังหวัดสุโขทัย 4. โครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติตามแนวพระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาท ปี พ.ศ.2550