messager
place สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัย
เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟ ลอยกระทงจังหวัดสุโขทัย


กำหนดจัดงาน
สถานที่จัดงาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟจังหวัดสุโขทัย เป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม พบกับบรรยากาศย้อนยุค 700 ปี พบเห็นวิถีชีวิตของความเป็นคนไทย พิธีเผาเทียนเล่นไฟ ลอยกระทงพระราชทาน การแสดงแสงเสียง และอื่น ๆ อีกมากมาย กิจกรรมภายในงาน - กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข - การแสดงแสงเสียง - ขบวนแห่กระทงของหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ/เอกชน และประชาชน - การประกวดกระทงและประกวดนางนพมาศ - ขบวนแห่โคมชัก โคมแขวน - การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัย - การเล่นไฟ พลุตะไล ไฟพะเนียง และผลิตภัณฑ์ของดีสุโขทัย หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โทร. 0-5569-7527 โทรสาร 0-5569-7310 สำนักงาน ททท.ภาคเหนือเขต 3 พิษณุโลก โทร. 0-5525-2742-3 สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร./โทรสาร 0-5561-1619 ,(จองบัตร) 0-5561-0530
เทศกาลวัดพิชิตยอดเขาหลวงแรลลี่เดินเท้าอนุรักษ์เขาหลวง
กำหนดจัดงาน
สถานที่จัดงาน อุทยานแห่งชาติรามคำแหง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ความเป็นมา อุทยานแห่งชาติรามคำแหงได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 เป็นอันดับที่ 18 ของประเทศ มีขนาดพื้นที่ประมาณ 341 ตารางกิโลเมตร (213,125 ไร่) ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา เป็นป่าต้นน้ำของลำห้วยที่เป็นสาขาของแม่น้ำยมและแม่น้ำปิง "เขาหลวง" เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติรามคำแหง โดยสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร มีพื้นที่คลอบคลุม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอคีรีมาศ และอำเภอบ้านด่านลานหอย ที่ตั้งสำนักงาน ที่ทำการอยู่ในท้องที่อำเภอคีรีมาศ บนยอดเขาหลวงนั้นมีทุ่งหญ้าธรรมชาติอยู่ประมาณ 3,000 ไร่ อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี ยอดเขาหลวง บนยอดเขามี ทุ่งหญ้าธรรมชาติ เนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ เป็นแหล่งหากินของสัตว์ป่า และมีหญ้าหลายชนิดเป็นสมุนไพร โดยเฉพาะบริเวณ สวนขวัญ มีมากเป็นพิเศษ บนเขาหลวงประกอบด้วยยอดเขาสูง 4 ยอด คือ ยอดเขานารายณ์ ยอดเขาภูกา ยอดเขาเจดีย์ และยอดเขาพระแม่ย่า ซึ่งมี ยอดเขาพระแม่ย่า เป็นยอดเขาสูงที่สุด 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล บริเวณ ผานารายณ์ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมขึ้นไปชมทิวทัศน์อันกว้างไกลของทุ่งหญ้า และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น - ตกที่ดีมาก การเดินทางอาศัยเดินเท้าเพียงอย่างเดียว ระยะทางราว 4 กิโลเมตร ที่ดิ่งชันไปตลอด ระหว่างทางจะพบ ไทรงาม ต้นไทรขนาดใหญ่อายุหลายร้อยปียืนแผ่กิ่งก้านเห็นเด่นตา น้ำตกสายรุ้ง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงชันแต่สวยงามมาก มีน้ำเฉพาะหน้าฝน สายน้ำไหลมากจากผาสูงกว่า 100 เมตร น้ำตกชั้นบนสุดสูงใหญ่และงดงามมาก แต่ต้องเดินทวนสายน้ำตกไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร จากอำเภอคีรีมาศตามทางหลวงหมายเลข 101 ไปราว 16 กิโลเมตร มีทางแยกสู่บ้านใหม่เจริญผล เข้าไปราว 9 กิโลเมตร จะพบทางแยกเข้าน้ำตกอีก 4 กิโลเมตร รอยพระพุทธบาท อายุราว 600 ปี สมัยพระธรรมราชาลิไท อยู่บริเวณเชิงเขาถ้ำพระบาทปรางค์เขาปู่จา เป็นศาสนสถานที่สร้างในรูปแบบศิลปะเขมรแบบบาปวน อายุราว 1,500 ปี ถนนพระร่วงและเขื่อนสรีดภงส์ เป็นถนนโบราณที่ค้นพบ เชื่อมเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย และศรีสัชนาลัยเข้าด้วยกัน สันนิษฐานว่าสร้างเมื่อกว่า 700 ปีมาแล้ว ส่วนเขื่อนสรีดภงส์เป็นทำนบกั้นน้ำในสมัยกรุงสุโขทัย กิจกรรมภายในงาน 1. แข่งขันผู้พิชิตยอดเขาหลวงจังหวัดสุโขทัย 2. ชมพระอาทิตย์ตกที่ยอดพระแม่ย่า และชุมพระอาทิตย์ขึ้นที่ยอดเขานารายณ์ 3. แข่งขันประกวดวาดภาพทัศนียภาพบนยอดเขาหลวง 4. แข่งขันเก็บขยะลงจากยอดเขาหลวงและตลอดเส้นทาง (คิดเป็นน้ำหนัก) 5. แคมป์ไฟ การเดินทาง การเดินทางมาอุทยานแห่งชาติรามคำแหงนั้นไม่ยาก แต่หากต้องการขึ้นยอดเขาหลวง นักท่องเที่ยวควรเตรียมร่างกายมาให้พร้อม และต้องเตรียมเสบียงอาหารและสัมภาระส่วนตัวขึ้นไปเอง การเดินทางโดยรถยนต์สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง 1. สายเก่า จากกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ เดินทางสู่จังหวัดกำแพงเพชร ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 414 แยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติรามคำแหงตามทางลูกรังอีก 4 กิโลเมตร
แรลลี่ท่องป่าสักใหญ่ ห่วงใยสัตว์ป่า ถ้ำเจา้รามตระการตา พาดูดวงเดือนเป็นเพื่อนกับค้างคาว

กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน สถานที่จัดงาน ถ้ำเจ้าราม หมู่ 9 บ้านภุทอง ต.วังน้ำขาว อ.บ้านด่านลานหอย จ. สุโขทัย "ถ้ำพระราม" ปรากฏอยู่ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาชาวบ้านเรียกเพื้ยน เป็น "ถ้ำเจ้าราม" เป็นถ้ำที่อาศัยของค้างคาวกินแมลง 6 ชนิด ได้แก่ 1.ค้างคาวเล็บกุด 2.ค้างคาวปีกถุง 3.ค้างคาวหน้ายักษ์กระบังหน้า 4.ค้างคาวหน้ายักษ์สามลืบ 5.ค้างคาวปากย่น และ 6.ค้างคาวปีกพับใหญ่ ช่วงเวลาในการเยี่ยมชม 14.00 น. ควรเดินทางถึงบริเวณถ้ำ 14.00-17.00 น. เข้าเยี่ยมชมภายในถ้ำและทิวทัศน์รอบ ๆ ถ้ำ 17.00 น. เตรียมพร้อมสำหรับชมฝูงค้างคาวบินออกจากถ้ำ เพื่อหากินในตอนกลางคืน 17.30 น. ชมฝูงค้างคาวทยอยบินออกจากถ้ำ พร้อมรับประทานอาหารและพักผ่อนตามอัธยาศัย 06.00 น. ของวันถัดมา ชมฝูงค้างคาวทยอยบินเข้าถ้ำ หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม ที่ว่าการอำเภอบ้านด่านลานหอย โทร./โทรสาร 0-5568-9024
งานรับลมหนาว เที่ยวน้ำตกตาดดาว ชมน้ำตกตาดเดือน เยือนถ้ำธาราสันต์

กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน สถานที่จัดงาน อุทยานแห่งชาติ ศรีสัชนาลัย อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัยเป็นภูเขาสลับซับซ้อม เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยหลายสาย ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำยม สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบเขา จึงมีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายชนิด ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เช่น กวาง เก้ง วัวแดง กระทิง เลียงผา หมี เสือปลา หมูป่า ฯลฯ และยังมีนกอีกหลายชนิด เช่น นกขุนทอง นกขมิ้นหัวดำใหญ่ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกนางแอ่นผา นกกระรางหัวหงอก ฯลฯ และในฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยวในลักษณะเดินป่า ดูนก ชมพรรณไม้ ดูรอยเท้าสัตว์ บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เพื่อชมทัศนียภาพพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกที่สวยงาม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย - ชมพระอาทิตย์ขึ้น พร้อมวาดฝันไปกับทะเลหมอก - ชมหินงอกหินย้อย ค้างคาวภายในถ้ำธาราวสันต์ - ดูนก ชมพรรณไม้ ดูรอยเท้าสัตว์ บนเส้นทางศึกษาธรรมชาติ - สัมผัสความเย็นสดชื่น ณ น้ำตกตาดดาว น้ำตกตาดเดือน น้ำตกห้วยทรายขาว หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม อุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย โทร. 0-5561-9214-5
งานวันพ่อขุนรามคำแพงมหาราช


กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน สถานที่จัดงาน พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย เป็นการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาวไทย กิจกรรมภายในงาน : ภาคเช้า - กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข - พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช - ขบวนแห่เทิดพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน - การแสดงศิลปะพื้นบ้าน กระบี่กระบอง - การแข่งขันกีฬาไทย - การประกวดเรียงความร้อยแก้ว ร้อยกรอง ภาคกลางคืน - การแสดงแสงเสียง "อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช - การประกวดลูก หลาน เหลน พ่อขุนรามคำแหง - มหกรรมคอนเสิร์ต ศิลปิน นักร้อง - การแสดงโขน นาฏศิลป์ - การแสดงลิเก, ศิลปะพื้นบ้าน
งานประเพณีการทำขวัญผึ้ง

กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน วันที่ 24 มกราคม 2547 (วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี) สถานที่จัดงาน ต้นยาง (ต้นประดาผึ้ง) ริมคลองข้างในบริเวณ วัดศรีคีรีสุวรรณาราม ต.ศรีคีรีมาศ จ.สุโขทัย อ. คีรีมาศ จ.สุโขทัย ตำบลศรีคีรีมาศ หรือบ้านท่าดินแดงในสมัยเดิมมีประเพณีการทำขวัญผึ้งเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากการส่งส่วยน้ำผึ้งแทนแรงงานราษฎรของชาวตำบลศรีคีรีมาศ การส่งส่วยเป็นการปฏิบัติตามพระราชกำหนดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งกำหนดไว้ว่าชายฉกรรจ์ไทยที่มีร่างกายสมประกอบมิได้เป็นบรรพชิต นักบวช มิใช่ไพร่สมสังกัดเจ้าขุนมูลนายใด ๆ ท่านให้สักข้อมือขึ้นบัญชีเป็นไพร่หลวง สังกัดนครหลวงหรือหัวเมืองต่าง ๆ เป็นกำลังของบ้านเมืองและประเทศชาติ และจะต้องไปเข้าเวรรับราชการให้หลวงท่านใช้แรงงานตลอดช่วงอายุ 18-60 ปี อยุธยาตอนปลาย จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีการลดหย่อนให้ไพร่หลวงที่เกินความต้องการใช้แรงงาน ไม่ต้องเข้ารับราชการ โดยเสียค่าส่วยแทนแรงงานได้ หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงไม่ต้องการตัวไพร่เข้าประจำการจึงได้กำหนดให้มีการส่งส่วยสิ่งของแทนแรงงาน เพราะหัวเมืองเหล่านี้มีป่าดงและภูเขา ซึ่งมีสิ่งที่บ้านเมืองหรือพระมหากษัตริย์ต้องการ ชาวตำบลศรีคีรีมาศอาศัยอยู่เชิงเขาหลวง ซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้และรังผึ้งมากมาย ต้องส่งส่วยน้ำผึ้งติดต่อกันมาเป็นเวลานาน การหารังผึ้ง การตีผึ้ง การทำขี้ผึ้ง จึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับการดำรงชีวิตของชาวตำบลศรีคีรีมาศตลอดมา ด้วยเหตุที่ต้องการให้มีผึ้งมาทำรังตามต้นไม้มาก ๆ จะไม้มีน้ำผึ้งเพียงพอแก่การส่งส่วยตามจำนวนที่เมืองหลวงกำหนด จึงได้เกิดประเพณีการทำขวัญผึ้งขึ้น ซึ่งเป็นการอัญเชิญผึ้งให้มาทำรังตามต้นไม้ที่ผึ้งเคยเกาะอยู่ ประเพณีการทำขวัญผึ้งจึงได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เพิ่งจะมาสูญหายไปเมื่อประมาณ 40 ปี เศษมานี้เอง ต่อมาจึงได้มีการดำเนินการฟื้นฟูประเพณีทำขวัญผึ้งขึ้นในตำบลศรีคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันครูที่ 16 มกราคม 2526 เพื่อเป็นการศึกษา วิเคราะห์ประเพณี รวมทั้งอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีการทำขวัญผึ้งสืบต่อไป กิจกรรมภายในงาน - การประกอบพิธีทำขวัญผึ้ง - การสาธิตการตีผึ้ง - กิจกรรมอื่น ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม องค์การบริหารส่วนตำบลศรีคีรีมาศ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย
งานสักการะพระแม่ย่า และ งานกาชาดจังหวัดสุโขทัย


กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน สถานที่จัดงาน บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย ถ.นิกรเกษม ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย พระแม่ย่าเป็นปูชนียบุคคลที่ชาวจังหวัดสุโขทัยให้ความเคารพนับถืออย่างสูงสุด เนื่องจากเชื่อว่า เป็นพระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งเป็นบูรพกษัตริย์ของประเทศไทยที่ได้รับการยกย่องในพระเกียรติคุณให้เป็นมหาราชพระองค์แรกของชาติไทย ประกอบกับพระแม่ย่าได้รับความเชื่อถือจากบุคคลทั่วไปว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดขอลาภยศในทางที่ถูกที่ควรมักจะสมหวังอย่างทั่วหน้า การจัดงานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาดจังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชานได้สักการะพระแม่ย่า นมัสการ 9 พระพุทธสุดแผ่นดิน สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 และร่วมกิจกรรมการการกุศลกับเหล่ากาชาดจังหวัดสุโขทัย กิจกรรม - ขบวนแห่พิธีสักการะพระแม่ย่าของหน่วยงานภาครัฐ/ รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน - การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน - นิทรรศการแสดงของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน - การออกร้าน จับสลากมัจฉากาชาดและกิจกรรมอื่นๆ ของเหล่ากาชาด - การจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ - การแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน - การประกวดธิดาพระแม่ย่าและกาชาดจังหวัด - การประกวดอาหารและขนมสุโขทัย - การแสดงมหรสพต่าง ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร./โทรสาร 0-5561-1619
งานเบิกฟ้า มหาประเพณี ศรีสัชนาลัยมรดกโลก

กำหนดจัดงาน
กำหนดจัดงาน สถานที่จัดงาน อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและอนุสาวรีย์พระยาลิไท อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัยมีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีหลากหลายแต่ดั้งเดิมมาเป็นหลายร้อยปี แต่แยกกันส่งเสริมเฉพาะด้านและยังมีประเพณีตามพงศาวดารที่น่าสนใจ อาทิเช่น พิธีบูชาไฟสมัยพญาลิไท, การล่องเรือแห่รอยพระพุทธบาทที่พญาลิไทโปรดให้จำลองมาจากเกาะลังกาในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น สมควรที่จะบูรณาการให้เป็นเทศกาลต่อเนื่อง กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. ขบวนเรือพิธีอัญเชิญรอยพุทธบาทจำลองทางชลมาศ 2. แสดงสินค้า OTOP 3. เทศการอาหาร 4. ประกวดนางงาม 5. แข่งเรือ 6. แห่ช้างพ่อเมือง 7. รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ 8. - ตักบาตรพระเขาวัดพนมเพลิงพระ 109 รูป - สลากภัตรพระ 109 รูป กำหนดการจัดงาน 1. ขบวนแห่นาคด้วยช้างจากบ้านเจ้าภาพมาพร้อมกันบริเวณวัดหาดเสี้ยว 2. นาครับศีลจากเจ้าอาวาสวัดหาดเสี้ยว ในอุโบสถวัดหาดเสี้ยว 3. ข้าราชการ ประชาชน กลุ่มมวลชน ชุดการแสดง วงดุริยางค์ พร้อมกัน ณ วัดหาดเสี้ยว 4. มีการแสดงของเด็กนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ 5. ประธานกล่าวเปิดงานประเพณีบวชช้างหาดเสี้ยว 6. ปล่อยขบวนแห่นาคด้วยช้าง จากวัดหาดเสี้ยวไปตามถนนสายสรีสัชนาลัย – สวรรคโลก (ในตลาดเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว)จากนั้นแห่รอบหมู่บ้านหาดเสี้ยว (หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2) 7. การทำขวัญนาคของแต่ละเจ้าภาพ ณ บ้านเจ้าภาพ1. ขบวนแห่นาคด้วยช้างจากบ้านเจ้าภาพมาพร้อมกันบริเวณวัดหาดเสี้ยว
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย